ดูแลทารกแรกเกิดที่บ้านหลังออกจากโรงพยาบาล
- Keen Wilson
- 11 มิ.ย. 2560
- ยาว 1 นาที
หลังจากผ่าคลอดและพักฟื้นในโรงพยาบาล 3 คืน (อย่างของเราคือเข้าโรงพยาบาลเช้าวันพฤหัสบดี และออกจากโรงพยาบาลหลังเที่ยงวันอาทิตย์) หมอสูติและหมอเด็กก็จะแวะมาตรวจแม่และเด็กทารก นัดวันที่จะให้กลับไปเจอหมอที่คลินิก และก็อนุญาตให้แม่และน้องออกจากโรงพยาบาล พอหมอทั้งสองท่านตรวจเสร็จแล้ว พยาบาลก็จะมาตรวจคาร์ซีท ดูว่าเราเอาน้อใส่คาร์ซีทและรัดเข็มขัดถูกต้องหนาแน่นพอกรือไม่ และก็ให้เรากลับบ้านโดยแจกเอกสารบอกวิธีการดูแลทารกแรกเกิดที่บ้าน (Going home instructions) มีรายละเอียดสำคัญดังนี้ค่ะ

การให้นม (Feeding)
ให้ดื่มนมทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยนมแม่หรือนมขวด
เวลาให้นมแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 30 นาที
หลังให้นมแล้ว ทารกแรกเกิดควรจะรู้สึกอิ่มท้องอย่างน้อย 1.5 ถึง 2.5 ชั่วโมง
การทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นนั้นช่วยบ่งบอกว่าทารกขาดน้ำหรือไม่ ถ้าการให้นมเป็นไปไม่ราบรื่น ให้รีบบอกหมอเด็กค่ะ
ภาวะตัวเหลือง (Jaundice)
ทารกแรกเกิดมักจะมีภาวะตัวเหลืองช่วง 3-5 วันแรก โดยหมอจะดูค่าตัวเหลือง bilirubin level จากผลตรวจห้องแลป
ภาวะตัวเหลืองที่ผิวบริเวณใบหน้า ดวงตา และหน้าอก ถือว่าพบได้ปกติ
แต่ถ้าพบว่าผิวของทารกมีสีเหลืองหรือส้มที่บริเวณช่วงเอวให้รีบพาไปหาหมอเด็กค่ะ
ไข้ขึ้น อาเจียน และอ่อนเพลีย
ทั้ง 3 อย่างนี้ถือว่าเป็นอาการป่วยปกติของทารกแรกเกิด
ถ้าไข้ขึ้นเกิน 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 38 องศาเซลเซียส ให้พาน้องไปพบหมอเด็กทันที
อาการแหวะนมออกมาถือว่าปกติ
แต่ถ้าเป็นอ้วกพุ่งนี่ไม่ปกติ
ทารกแรกเกิดจะรอกินนมอยู่ตลอดเวลา ถ้าทารกมีอาการไม่อยากทานนม ตัวซีด หรือเหงื่อแตกขณะทานนม อาจจะมีปัญหา ให้โทรหาคุณหมอเลยค่ะ
สุดท้ายนี้
คุณแม่ต้องดูแลตัวเองด้วยนะคะ ความเครียดจะทำให้ปริมาณน้ำนมแม่ลดลงและส่งผลให้ทารกรู้สึกไม่ดี
การให้กำเนิดและดูแลชีวิตใหม่เป็นงานที่เหนื่อยมาก ให้คุณแม่ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและคนในครอบครัว ในเรื่องการดูแลลูกคนอื่นๆ (ถ้ามี) งานบ้าน และดูแลทารกแรกเกิดตอนที่คุณแม่นอนพักงีบ
การพักผ่อนและการมีผู้สนับสนุนที่ดีสำคัญมากในการจัดการเรื่องให้นม เปลี่ยนผ้าอ้อม ลูกปวดท้องจะการมีลมในกระเพาะมากเกินไป ร้องไห้ แหวะนม สะอึก จาม และอาการอยากดูดนมตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องธรรมดาของทารกวัยนี้หมด
Commentaires